ปีนักษัตร ปฏิทินไทย
ฤกษ์สร้างบ้าน ฤกษ์ลงเสาเอก รายปี 12 ปี ตามปีนักษัตร ปฏิทินไทย
ฤกษ์ลงเสาเอกของ "ปีชวด"
นำไม้ราชพฤกษ์ปักเสามุมแรก ก่อนยกเสาเอกเพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย จากนั้นก็โปรยดอกไม้ 3 สีที่เป็นสิริมงคล (ดอกกุหลาบ ดอกรัก และดอกพุทธ) แล้วบวงสรวงด้วยกล้วยที่เป็นมิ่งขวัญปีเกิด จะทำให้อยู่เย็นเป็นสุขและทำมาหากินเจริญขึ้น
ฤกษ์ลงเสาเอกของ "ปีฉลู"
นำเอากล้วยและผ้าขาวพันที่เสาเอก เอากิ่งมะตูม 3 กิ่งปักที่เสาเอก แล้วบวงสรวงด้วยลูกตาล ขนมฝอยทอง จะทำให้มีความสุขความเจริญและมีแต่สิ่งดี ๆ เข้าบ้าน
ฤกษ์ลงเสาเอกของ "ปีขาล"
นำเอาข้าวสุก 3 กระทงและน้ำ 3 ขัน (ขันเงิน ขันทอง ขันนาก) รดที่ต้นเสาเอก จากนั้นโปรยดอกไม้ 3 ชนิด (ดอกดาวเรือง ดอกรัก และดอกบานไม่รู้โรย) เพื่อเป็นเคล็ดให้ร่ำรวยและอยู่เย็นเป็นสุข
ฤกษ์ลงเสาเอกของ "ปีเถาะ"
นำเอาใบตะเคียน ใบเฉียง ใบพร้าหอม และต้นกล้วย 1 ต้น ห่อที่ปลายเสาเอก แล้วบวงสรวงด้วยหมูย่าง ปลายำ จะทำให้มีความรุ่งเรือง
ฤกษ์ลงเสาเอกของ "ปีมะโรง"
นำเอาใบมะกรูดและกำยานพันปลายเสาเอก แล้วยกเสาขึ้น พร้อมโปรยดอกไม้มงคล 7 ชนิด ได้แก่ ดอกรัก ให้รักใคร่กัน ดอกดาวเรือง ให้เจริญรุ่งเรือง ดอกบัว ให้มีคนนับถือ ดอกกุหลาบ ให้สุขสดชื่น ดอกบานไม่รู้โรย ให้มั่งมีอย่างไม่รู้โรย ดอกพุด ให้พระคุ้มครอง และดอกมะลิ ให้อยู่เย็นเป็นสุข จะทำให้ร่ำรวย มั่งมี และเป็นสุขตลอดไป
ฤกษ์ลงเสาเอกของ "ปีมะเส็ง"
นำเอาใบสิงห์ 2 กิ่งผูกที่ปลายเสาเอก วางข้าว 3 กระทง จุดธูปเทียนบูชา พร้อมทั้งบูชาดอกกุหลาบ พวงมาลัย มะลิสด ดอกรัก และน้ำเย็น 6 ขัน แล้วพูดว่า มั่ง มี ศรี สุข จากนั้นยกเสาเอกขึ้น จะทำให้รุ่งเรือง
ฤกษ์ลงเสาเอกของ "ปีมะเมีย"
นำเอาใบขี้เหล็กกวาดตั้งแต่ปลายเสาลงมาถึงโคนเสา 3 ครั้ง จากนั้นเอาน้ำรดปลายเสาเอก โดยให้อดใจรอจนถึงเวลาไก่ขัน แล้วบวงสรวงด้วยกล้วย มะพร้าว ส้ม จึงจะร่มเย็นเป็นสุข
ฤกษ์ลงเสาเอกของ "ปีมะแม"
นำเอาใบเงิน 3 ใบ หมากผู้ 3 ใบ หมากเมีย 3 ใบ พร้อมทั้งใบกล้วย ใบอ้อยใส่ลงไปในหลุม แล้วจึงยกเสาเอก จากนั้นก็บวงสรวงด้วยกล้วย อ้อย มะพร้าว และขอพร จะเสริมสิริมงคลให้มีโชคลาภตลอดไป
ฤกษ์ลงเสาเอกของ "ปีวอก"
นำเอาเทียน 3 เล่มแปะทอง ผูกข้างเสาด้านหัวนอน และนำใบเงิน ใบทอง ใบนาก ใส่ลงในฐานหลุม แล้วจึงยกเสาเอก จะทำให้มั่งมีศรีสุขตลอดกาล
ฤกษ์ลงเสาเอกของ "ปีระกา"
นำเอาข้าวตอกกับใบบัวบกใส่รองเอาไว้ในหลุมของเสาเอกและเสารอง หรือใส่ให้ครบทั้ง 4 ทิศ จะเสริมมงคลให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข แล้วจึงบวงสรวงด้วยข้าว แกง แอปเปิล ดอกบัวหลวงขอพร จะทำให้มั่งมีศรีสุข
ฤกษ์ลงเสาเอกของ "ปีจอ"
นำเอาข้าวตอกกับใบบัวบกมาใส่รองเอาไว้ในหลุมเสาเอก หรือใส่ให้ครบทั้ง 4 ทิศ แล้วบูชาด้วยดอกบัวหลวง จะทำให้มีคนอุปถัมภ์ดี
ฤกษ์ลงเสาเอกของ "ปีกุน"
นำเอาดอกชบาและดอกบัวอย่างละ 1 ดอก ใส่ลงในหลุมเสาเอก แล้วลงเสาเอก ฤกษ์ 09.09 น. จะทำให้มีความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
ฤกษ์สร้างบ้าน ฤกษ์ลงเสาเอก รายเดือน 12 เดือน ตามปฏิทินไทย
- เดือนอ้าย (เดือน 1) ท่านว่า จะทำมาค้าขึ้น จะได้เป็นเศรษฐี เพราะกิจการค้านั้น
- เดือนยี่ (เดือน 2) ท่านว่าดี มีสิริในการป้องกันศัตรูทั้งมวล
- เดือนสาม (เดือน 3) ท่านห้ามปลูก จะมีภัย ศัตรูเบียดเบียน
- เดือนสี่ (เดือน 4) ท่านว่าปลูกดีจะมีลาภ จะมีความสุขกายสบายใจ
- เดือนห้า (เดือน 5) ท่านว่า จะเกิดทุกข์ร้อนไม่สบายใจ
- เดือนหก (เดือน 6) ท่านว่าประเสริฐ จะส่งผลให้เงินทองไหลมา เทมา
- เดือนเจ็ด (เดือน 7) ท่านห้ามปลูก จะเป็นอันตรายแก่ทรัพย์ที่หาไว้ได้แล้ว จักถูกโจรลัก หรือจนต่อไฟ
- เดือนแปด (เดือน 8) ท่านห้ามปลูกเรือนในเดือนนี้ เงินทองข้าวของที่เก็บไว้ จะมิอยู่คง
- เดือนเก้า (เดือน 9) ท่านให้เร่งปลูกเรือน ถ้ารับราชการจะได้รับการปูนบำเหน็จแล ถ้ามิได้รับราชการก็จะเจริญในการประกอบอาชีพแล
- เดือนสิบ (เดือน 10) ท่านห้ามปลูก จะได้รับอันตรายจากโทษทัณฑ์ อาญาแผ่นดินและการเจ็บไข้ได้ป่วย
- เดือนสิบเอ็ด (เดือน 11) ท่านห้ามปลูก จะถูกคนหลอกลวงเอาของและสิ่งหวงแหน
- เดือนสิบสอง (เดือน 12) ท่านว่าควรเร่งปลูก จะได้เงินทองข้าวของ ช้างม้า ข้าทาสผู้ซื่อสัตย์แล
ฤกษ์สร้างบ้าน ฤกษ์ลงเสาเอก รายวัน
- วันจันทร์ : ท่านว่าปลูกได้ จะมีลาภ ผ้าผ่อนท่อนสไบบังเกิดแก่เจ้าของเรือน
- วันอังคาร : ท่านห้ามปลูก จะเกิดอันตรายจากไฟ
- วันพุธ : ท่านว่าดี จะมีลาภเป็นของขาวเหลืองอยู่เนืองๆ แล
- วันพฤหัสบดี : ท่านว่าดี จงปลูกเถิดจะได้ลาภ และความสุขพูนทวี
- วันศุกร์ : ท่านว่า ห้ามปลูก จะมีทุกข์และสุขเท่ากัน
- วันเสาร์ : ท่านว่า ห้ามปลูกเด็ดขาด จะเกิดถ้อยความ มีคนเบียดเบียน และจะมีเรื่องเดือดร้อนใจ
- วันอาทิตย์ : ท่านว่า ห้ามปลูก ความอุบาทว์จัญไรจะเกิด
ของมงคลสำหรับประกอบพิธีลงเสาเอกสร้างบ้าน
- จัดโต๊ะหมู่บูชา 1 ชุด พร้อมเครื่องสักการะ (ถ้าประสงค์)
- จตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ 1 ชุด (กรณีนิมนต์พระมาประพรมน้ำมนต์ที่หลุม และเจริญชัยมงคลคาถา)
- เครื่องบูชาฤกษ์หรือสังเวยเทวดา (จัดย่อส่วนก็ได้ ดูพิธีวางศิลาฤกษ์)
- สายสิญจน์ 1 ม้วนเล็ก
- ผ้าสามสี ผ้าแพรสีแดง ผ้าห่มเสา ผ้าหัวเสา หรือผ้าขาวม้า 1 ผืน ขนาด 4×6 นิ้ว
- แผ่นทอง นาก เงิน อย่างละ 1 แผ่น
- เหรียญทอง เงิน อย่างละ 9 เหรียญ
- ทองคำเปลว 3 แผ่น
- หน่อกล้วย อ้อย อย่างละ 1 หน่อ
- ข้าวตอกดอกไม้ 1 ขัน
- น้ำมนต์ 1 ขัน (พร้อมกำหญ้าคา 1 กำ)
- ทรายเสก 1 ขัน
- แป้งหอม
- ไม้มงคล 9 ชนิด (ไม้ราชพฤกษ์, ไม้ขนุน, ไม้ชัยพฤกษ์, ไม้ทองหลาง, ไม้ไผ่สีสุก, ไม้ทรงบาดาล, ไม้สัก, ไม้พะยูง, ไม้กันเกรา)
เตรียมลงเสาเอกสร้างบ้าน
ขั้นตอนลำดับพิธีลงเสาเอกสร้างบ้าน
เสาเอก คือ เสาหลักของบ้าน ส่งผลให้คนไทยมีความเชื่อมาตั้งแต่โบราณว่าหากมีการตั้งเสาเอกที่ถูกหลัก ดูฤกษ์ลงเสาเอกที่ถูกต้องและถูกโฉลก จะช่วยให้คนในบ้านมีความร่มเย็นเป็นสุข ทำอะไรราบรื่น เพราะมีเทวดารักษา อีกทั้งยังเป็นสิริมงคลและเพิ่มความสบายใจให้แก่ผู้ที่อาศัยได้
สำหรับการทำพิธีตั้งเสาเอกนั้น ไม่จำเป็นต้องทำครบทุกขั้นตอน สามารถนำฤกษ์ลงเสาเอกรายปีมาประกอบด้วยลำดับพิธีต่างๆ ดังนี้
- นำหน่อกล้วย อ้อย และผ้าสามสีผูกติดกับเสาเหล็กที่จะใช้ในพิธีตั้งเสาเอก (ควรผูกให้เรียบร้อยก่อนถึงวันตั้งเสาเอก)
- สำหรับบ้านไหนที่ไม่เชิญพราหมณ์หรือพระมาช่วยทำพิธี ก็สามารถให้ญาติผู้ใหญ่หรือเจ้าของบ้านเป็นคนทำพิธีเองได้ (ผู้อยู่อาศัยทุกคนควรมาร่วมพิธีให้ครบ) โดยเริ่มแรกให้วางสายสิญจน์ตั้งแต่โต๊ะหมู่บูชาไปจนถึงเสาเอก
- เจ้าภาพจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชา อธิษฐาน และกราบพระ เจ้าภาพจุดธูปที่โต๊ะสังเวยบูชาเทวดาให้ช่วยคุ้มครอง
- ตอกไม้มงคล 9 ชนิดลงไปในหลุมเสาเอก
- วางแผ่นทอง แผ่นนาก แผ่นเงิน และเหรียญเงินลงไปในหลุม
- นิมนต์พระสงฆ์มาพรมน้ำมนต์ และโปรยทรายเสกลงที่หลุมเสาเอก พร้อมเจิมและปิดทองที่เสาเอกที่ผูกผ้าสามสี หน่อกล้วย และอ้อย เอาไว้
- เจ้าภาพและผู้ร่วมพิธีถือสายสิญจน์ และยกเสาเอกให้เรียบร้อย
- เจ้าภาพโปรยข้าวตอกดอก หรือแป้งหอมลงที่หลุมเสาเอก
ในกรณีที่เชิญพราหมณ์ หรือพระมาช่วยทำพิธี อาจจะมีขั้นตอนที่แตกต่างออกไปบ้าง แต่ต้องจัดเตรียมตั้งโต๊ะ และจตุปัจจัยไทยธรรม ถวายพระ 1 ชุด รวมถึงอาหารสำหรับฉันเพลด้วย
สนใจสร้างบ้านชั้นเดียว สร้างบ้าน 2 ชั้น สร้างบ้านตามแบบ ติดต่อ บริษัทรับสร้างบ้าน เรายินดีดูแลบ้านของท่านเหมือนบ้านของเรา
บทความการก่อสร้างล่าสุด
-
ปัจจุบันกระเบื้องไม่เพียงแต่ออกแบบมาเพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงเรื่องการใช้งาน ความแข็งแรง และความทนทาน กระเบื้องยาง LVT, SPC, WPC ต่างกันอย่างไร
20 ส.ค. 66 เวลา 17:06 น.
1,793
-
เสาเข็ม ใช้เพื่อยึดฐานรากของสถานที่ก่อสร้าง การตอกเสาเข็ม จึงเป็นทักษะทางเทคนิคที่สำคัญ เมื่อใดที่ควรใช้ฐานรากเสาเข็มในการก่อสร้าง เรามาดูกัน
29 เม.ย. 66 เวลา 16:15 น.
2,610
-
หลังคาบ้าน เป็นโครงสร้างหลักของสิ่งปลูกสร้าง ปัจจุบันรูปแบบหลังคาบ้าน มีให้เลือกหลากหลาย เรามาดูแบบหลังคาบ้านกัน ว่าแบบไหนบ้าง ที่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศบ้านเรา
27 ก.พ. 66 เวลา 9:56 น.
5,818
-
รวมต้นไม้ปลูกในบ้านยอดฮิต ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียว ให้บ้านเย็นสบาย ด้วยวิธีธรรมชาติ ต้นไม้ที่เติบโตได้ทุกสภาพอากาศ ต้นไม้ที่เหมาะปลูกบริเวณบ้าน มีต้นอะไรบ้าง
26 พ.ย. 65 เวลา 5:47 น.
26,592
-
รวม 5 หลักฮวงจุ้ยบ้านที่ควรรู้ เสริมมงคล ลักษณะของบ้านที่ดีมีอะไรบ้าง การสร้างบ้านตามหลักฮวงจุ้ย ศาสตร์แห่งพลังงานจากธรรมชาติ ประกอบด้วยอะไรบ้าง มาดูกัน
25 ต.ค. 65 เวลา 14:20 น.
5,963
-
พื้นแสตมป์ / พื้นคอนกรีตพิมพ์ลาย คืออะไร ข้อดี-คุณสมบัติของ พื้นแสตมป์ / พื้นคอนกรีตพิมพ์ลาย (Stamped Concrete) ราคาค่าวัสดุ และค่าแรงในการทำพื้นแสตมป์
15 ก.ย. 65 เวลา 11:15 น.
14,476
-
รวมกฎหมายน่ารู้ ที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน ต่อเติมบ้าน / การถมดิน และบริเวณโดยรอบพื้นที่ก่อสร้าง / พระราชบัญญัติการขุดดินและการถมดิน พ.ศ. 2543
30 เม.ย. 65 เวลา 7:22 น.
3,692
-
วิธีการผสมปูนสำหรับก่ออิฐบล็อกและอิฐมอญ เทคนิควิธีการก่ออิฐที่ถูกต้อง องค์ความรู้เหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อช่างและเจ้าของบ้านในการรับและตรวจงานอาคารของตนเอง
28 ก.พ. 65 เวลา 4:22 น.
9,285
-
การล้อมรั้วที่ดิน ควรเลือกติดตั้งรั้วแบบไหนดี รั้วลวดหนาม-รั้วตาข่ายถักปม มีรูปต่าง-ลักษณะการใช้งาน ข้อดี และราคาค่าติดตั้งแตกต่างกันอย่างไร
30 ธ.ค. 64 เวลา 12:53 น.
16,642
-
ดอกเบี้ยบ้าน MOR MLR และ MRR คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ใช้อ้างอิงในการเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินกู้จากลูกค้า ซึ่งมีลักษณะเป็นดอกเบี้ยลอยตัว
30 พ.ย. 64 เวลา 8:07 น.
2,872
บริการรับสร้างบ้าน ต่อเติมและรีโนเวทบ้านของเรา
© 2024 TTM Construction Co., Ltd. All rights Reserved.